การใช้ภาพพจน์ในวรรณคดี
ภาพพจน์ หมายถึง คำ
หรือ
กลุ่มคำ
ที่สร้างขึ้นจากกลวิธีในการใช้คำ
เพื่อให้ปรากฏภาพที่เด่นชัดและลึกซึ้งขึ้นในใจ
ทำให้ผู้อ่านและผู้ฟังเกิดจินตภาพคล้อยตาม การสร้างภาพพจน์เป็นสิลปทางภาษาขั้นสูงของการแต่งคำประพันธ์ โดยผู้แต่งใช้กลวิธี
การเปรียบเทียบที่คมคายในลักษณะต่างๆ ภาพพจน์มีหลายประเภท แต่ที่สำคัญๆ คือ
ทำให้ผู้อ่านและผู้ฟังเกิดจินตภาพคล้อยตาม การสร้างภาพพจน์เป็นสิลปทางภาษาขั้นสูงของการแต่งคำประพันธ์ โดยผู้แต่งใช้กลวิธี
การเปรียบเทียบที่คมคายในลักษณะต่างๆ ภาพพจน์มีหลายประเภท แต่ที่สำคัญๆ คือ
๑. อุปมา
การเปรียบสิ่งหนึ่งเหมือนอีกสิ่งหนึ่ง โดยใช้คำเชื่อมเหล่านี้ "เหมือน ราว ราวกับเปรียบ ดุจ ประดุจ ดัง ดั่ง เฉก เช่น เพียง
เพี้ยง ประหนึ่ง ถนัด กล เล่ห์ ปิ้มว่า ปาน ครุวนา ปูน พ่าง ละม้าย แม้น"
ทนต์แดงดั่งแสงทับทิม เพริศพริ้มเพรารับกับขนง
(อิเหนา)
ใช่นางเกิดในปทุมา สุริยวงศ์พงศานั้นหาไม่
จะมาช่วงชิงกันดังผลไม้ อันจะได้นางไปอย่าสงกา
จะมาช่วงชิงกันดังผลไม้ อันจะได้นางไปอย่าสงกา
(อิเหนา)
ครั้นวางพระโอษฐ์น้ำ เวียนวน อยู่นา
เห็นแก่ตาแดงกล ชาดย้อม
หฤทัยระทดทน ทุกข์ใหญ่ หลวงนา
ถนัดดั้งไม้ร้อยอ้อม ท่าวท้าวทับทรวง
(ลิลิตพระลอ)
๒. อุปลักษณ์
การเปรียบสิ่งหนึ่งเป็นอีกสิ่งหนึ่ง มักใช้คำว่า "คือ" และ
"เป็น" เช่น ครูคือเรือจ้าง อ่านเพิ่มเติม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น