วันพุธที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2559

สุภาษิต คำพังเพย และสำนวนไทย

 สุภาษิต คำพังเพย และสำนวนไทย

       สุภาษิต คำพังเพยและสำนวนไทย
สุภาษิต คือ คำพูดที่ถือเป็นคติ มีความลึกซึ้ง ใช้สั่งสอน ถือเป็นการวางแนวและแสดงค่านิยมของมนุษย์มาแต่โบราณกาล เช่น สุภาษิตสอนหญิง สุภาษิตพระร่วง ก็มีข้อความสั่งสอนที่แสดงค่านิยมของสมัยนั้น ๆ ไว้อย่างชัดเจน ตลอดจนพุทธภาษิตคำสั่งสอนตามแนวทางพระพุทธศาสนา
 
      คำพังเพย คือ เป็นคำเปรียบเทียบเรื่องต่าง ๆ เพื่อใช้ติชม ซึ่งสะท้อนถึงความคิด ความเชื่อถือ และค่านิยม อันเป็นลักษณะของคนไทย เช่น ค่านิยมในการยกย่องผู้มีอาวุโส เคารพครูบาอาจารย์ และนิยมความสุภาพอ่อนโยน
 สำนวน คือ ถ้อยคำที่เรียบเรียงขึ้นโดยมีความหมายพิเศษ ไม่ตรงกับความหมายที่ใช้ตามปกติ ทั้งนี้อาจจะเป็นคำที่มีความหมายโดยนัย หรือความหมายในเชิงเปรียบเทียบ เป็นลักษณะคำพูดที่รวมใจความยาว ๆ ให้กะทัดรัด บางสำนวนอาจหมายถึงสุภาษิตและคำพังเพยด้วย 

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ เกี่ยวกับภาษาไทย

โวหารภาพพจน์ในวรรณคดีไทย

การใช้ภาพพจน์ในวรรณคดี
 ภาพพจน์  หมายถึง  คำ  หรือ  กลุ่มคำ  ที่สร้างขึ้นจากกลวิธีในการใช้คำ  เพื่อให้ปรากฏภาพที่เด่นชัดและลึกซึ้งขึ้นในใจ
ทำให้ผู้อ่านและผู้ฟังเกิดจินตภาพคล้อยตาม  การสร้างภาพพจน์เป็นสิลปทางภาษาขั้นสูงของการแต่งคำประพันธ์  โดยผู้แต่งใช้กลวิธี
การเปรียบเทียบที่คมคายในลักษณะต่างๆ  ภาพพจน์มีหลายประเภท  แต่ที่สำคัญๆ  คือ

 ๑.  อุปมา

การเปรียบสิ่งหนึ่งเหมือนอีกสิ่งหนึ่ง  โดยใช้คำเชื่อมเหล่านี้ "เหมือน ราว ราวกับเปรียบ ดุจ ประดุจ ดัง ดั่ง เฉก เช่น เพียง
เพี้ยง ประหนึ่ง ถนัด กล เล่ห์ ปิ้มว่า ปาน ครุวนา ปูน พ่าง ละม้าย แม้น"

 ทนต์แดงดั่งแสงทับทิม  เพริศพริ้มเพรารับกับขนง
(อิเหนา)
ใช่นางเกิดในปทุมา       สุริยวงศ์พงศานั้นหาไม่
จะมาช่วงชิงกันดังผลไม้        อันจะได้นางไปอย่าสงกา
(อิเหนา)

ครั้นวางพระโอษฐ์น้ำ  เวียนวน  อยู่นา
เห็นแก่ตาแดงกล            ชาดย้อม
หฤทัยระทดทน              ทุกข์ใหญ่  หลวงนา
ถนัดดั้งไม้ร้อยอ้อม           ท่าวท้าวทับทรวง
                                                            (ลิลิตพระลอ)

 ๒.  อุปลักษณ์

การเปรียบสิ่งหนึ่งเป็นอีกสิ่งหนึ่ง มักใช้คำว่า "คือ" และ "เป็น" เช่น ครูคือเรือจ้าง อ่านเพิ่มเติม

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับภาษา

                  ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับภาษา
ความหมายของภาษา
คำว่า ภาษาเป็นคำภาษาสันสฤต แปลตามรูปศัพท์หมายถึงคำพูดหรือถ้อยคำ ภาษาเป็นเครื่องมือของมนุษย์ที่ใช้ในการสื่อความหมายให้สามารถสื่อสารติดต่อทำความเข้าใจกันโดยมีระเบียบของคำและเสียงเป็นเครื่องกำหนด ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542 ให้ความหมายของคำว่าภาษา คือ เสียงหรือกิริยาอาการที่ทำความเข้าใจกันได้ คำพูดถ้อยคำที่ใช้พูดจากัน
ภาษา แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
ภาษาที่เป็นถ้อยคำ เรียกว่า “ วัจนภาษา” เป็นภาษาที่ใช้คำพูดโดยใช้เสียงที่เป็นถ้อยคำสร้างความเข้าใจกัน นอกจากนั้นยังมีตัวหนังสือที่ใช้แทนคำพูดตามหลักภาษาอีกด้วย
ภาษาที่ไม่เป็นถ้อยคำ เรียกว่า “ อวัจนภาษา” เป็นภาษาที่ใช้สิ่งอื่นนอกเหนือจากคำพูดและตัวหนังสือในการสื่อสาร เช่น การพยักหน้า การโค้งคำนับ การสบตา การแสดงออกบนใบหน้าที่แสดงออกถึงความเต็มใจและไม่เต็มใจ อวัจนภาษาจึงมีความสำคัญเพื่อให้วัจนภาษามีความชัดเจนสื่อสารได้รวดเร็วยิ่งขึ้น นอกจากท่าทางแล้วยังมีสัญลักษณ์ต่างๆ ที่มนุษย์สร้างขึ้นมาใช้ในการสื่อสารสร้างความเข้าใจ อีกด้วย

ความสำคัญของภาษา
ภาษาเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการสื่อสารของมนุษย์  มนุษย์ติดต่อกันได้  เข้าใจกันได้ก็ด้วยอาศัยภาษาเป็นเครื่องช่วยที่ดีที่สุด
ภาษาเป็นสิ่งช่วยยึดให้มนุษย์มีความผูกพันต่อกัน เนื่องจากแต่ละภาษาต่างก็มีระเบียบแบบแผนของตน  ซึ่ง อ่านเพิ่มเติม

หลักการใช้ภาษาไทยเพื่อการสื่อสารในอินเตอร์เน็ต

หลักการใช้ภาษาไทยเพื่อการสื่อสารในอินเตอร์เน็ต


        1.ใช้คำให้ถูกต้องตรงตามความหมาย   กล่าวคือ ก่อนนำคำไปเรียงเข้าประโยค ควรทราบความหมายของคำคำนั้นก่อน เช่น คำว่า ปอกกับ ปลอกสองคำนี้มีความหมายไม่เหมือนกัน คำว่า ปอกเป็นคำกริยา แปลว่า เอาเปลือกหรือสิ่งที่ห่อหุ้มออก แต่คำว่า ปลอกเป็นคำนาม แปลว่า สิ่งที่ทำสำหรับสวมหรือรัดของต่างๆ เป็นต้น ลองพิจารณาตัวอย่างต่อไปนี้ 
                “วันนี้ได้พบกับท่านอธิการบดี ผมขอฉวยโอกาสอันงดงามนี้เลี้ยงต้อนรับท่านนะครับ” (ที่จริงแล้วควรใช้ ถือโอกาส เพราะฉวยโอกาสใช้ในความหมายที่ไม่ดี
 

        2. ใช้คำให้เหมาะสม    เลือกใช้คำให้เหมาะสมกับกาลเทศะและเหมาะสมกับบุคคล เช่นโอกาสที่เป็นทางการ โอกาสที่เป็นกันเอง หรือโอกาสที่เป็นภาษาเขียน เช่น  
                “ข้าพเจ้าไม่ทราบว่าท่านจะคิดยังไง” (คำว่า ยังไง”  เป็นภาษาพูด ถ้าเป็นภาษาเขียนควร อ่านเพิ่มเติม


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ หลักการใช้ภาษา

วันจันทร์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2559

อิเหนา

บทที่ ๒
อิเหนา ตอนศึกกะหมังกุหนิง
แนวคิด
                                                                        อิเหนา 
         เป็นวรรณคดีที่ได้รับการยกย่องของบทละครลำ เพราะเป็นหนังสือซึ่งแต่งดีทั้งกลอน ทั้งความ และทั้งกระบวนการที่ละเล่นละครประกอบการ และยังเป็นหนังสือที่ดี ในทางที่ตะศึกษาประเพณีไทยสมัยโบราณ  แม้บทละครเรื่องอิเหนาจะมีเค้าโครงมาจากนิทานพื้นเมืองของชาวชวา  เอกสารที่เกี่ยวข้องมีดังนี้
  ๒.๑ ความเป็นมา
  ๒.๒ ประวัติผู้แต่ง
  ๒.๓ ลักษณะคำประพันธ์
   ๒.๔ เรื่องย่อ
  ๒.๕ เนื้อเรื่อง
   ๒.๖ คำศัพท์
   ๒.๗ บทวิเคราะห์

ความเป็นมา
           อิเหนา เป็นวรรณคดีที่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ ซึ่งชาวชวาได้แต่งขึ้นเอเฉลิมพระเกียรติแด่พระมหากษัตริย์ ชวาพระองค์นี้ทรงนำความเจริญให้แก่ชาวชวา ซึ่งพระองค์เป็นทั้งนักรบ นักปกครอง และพระองค์ทรงมี พระราชธิดา ๑ พระองค์ และพระราชโอรส ๒ พระองค์ เมื่อพระราชธิดาของพระองค์ได้ทรงเสด็จออกผนวช จึงได้แบ่งราชอาณาจักรเป็น ๒ ส่วน คือกุเรปัน และ ดาหา
        ต่อมาท้าวกุเรปันได้ทรงมีพระราชโอรสพระองค์หนึ่ง และท้าวดาหาทรงมีพระราชธิดาพระองค์หนึ่ง ซึ่งทั้งสองพระองค์มีพระนามว่า อิเหนาและบุษบา เมื่อเจริญพระชันษา อดีตพร อ่านเพิ่มเติม


มารยาทในการอ่าน

 มารยาทในการอ่าน 

       ๑.ไม่ควรอ่านหนังสือเสียงดังรบกวนผู้อืน
      ๒.หากเห็นหนังสือชีกขาดหรือชำรุด ควนซ่อมแซมให้เรียบร้อย
      ๓.เมื่ออ่านหนังสือเสร็จแล้วควรนำหนังสือเก็บไว้ที่เดิม
      ๔.ไม่ควรพับมุมหรือชีกหนังสือ
         ๕.เมื่อเลิกอ่านหนังสือแล้ว ไมควรเปิดหนังสือกางหรื่อควำหนังสือไว้



  

มารยาทในการฟัง

มารยาทในการฟัง
๑.ฟังด้ายความสงบ
๒.ฟังด้วยความตั้งใจ
๓.ปรบมือเมื่อชอบใจ
๔.มองหน้าผู้พูด
๕.เมือมีขอสงสัยควรถาม เมื่อผู้พูดเปิดโอกาสให้ถาม ไม่ควรถามแทรกขณะที่ผู้พูดกำลังพูดอยู่
๖.ไม่สงเสียงรบกานผู้อื่น
๗.ไม่ควรแสดงท่าทางไม่พอใจเมื่อไม่ชอบใจ
๘.ตั้งใจฟังตังแต่ต้นจนจบ
๙.ไม่ควรแสดงกิริยาที่ไม่เหมาะสม เช่น โฮร้อง
๑๐.ไม่ควรเดินเข้าเดินออกขณะที่ผู้พูดกำลังพูดหากมีความจำเป็นควรทำความเข้ารพก่อน